วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยประมาณ 14.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี)


ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยประมาณ 14.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) 


ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์ประมาณ 14.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) อยู่ในอันดับ 3 ขณะที่สิงคโปร์ มีต้นทุนต่ำสุดเพียง 8% ตามด้วยมาเลเซีย เราจึงจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ภาพรวม ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยนับว่าดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่สูงถึง 18% ของจีดีพี
สำหรับการเตรียมพร้อมของไทยเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น จะต้องเตรียมด้าน soft side ซึ่งหมายถึง ระบบงานต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านโลจิสติกส์ซึ่งขณะนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เดินหน้าจัดทำระบบ national single window มีกำหนดแล้วเสร็จในปีหน้า ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนมีความสะดวกในการนำเข้า ส่งออกสินค้ามากขึ้น โดยคาดหวังว่ารถจะผ่านดำนศุลกากรได้ภายใน 5 นาที เช่น ที่ทวาย น้ำพุร้อน สงขลา ปัตตานี มีระบบเอื้อผ่านแดนของรถขนส่งสินค้ารวดเร็วขึ้น
การเชื่อมโยงของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมอาเซียนจะดำเนินการผ่านโครงการลงทุนปรับปรุงระบบโทรคมนาคม ตั้งอยู่บนระบบคมนาคม นอร์ทเซาท์ จีน ผ่านลาว ไทย สิ้นสุดคาบสมุทรมาลายา อีสต์เวสต์ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นจุดสำคัญทั้งรถ รางท่อ งบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ตั้งเป้า 3 ปี เห็นผล โดยประเทศไทยจะลงทุนสร้างโครงสร้าง พื้นฐานด้านคมนาคม เช่น ระบบราง รถไฟฟ้า เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน ด้านซอฟต์ไซด์มีเร่งพัฒนาคน ระบบการจัดการ ข้อกฎหมาย การไหลของสินค้า ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต้นทุนขนส่งสินค้าบริการลดลง
นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) กล่าวว่า ภาพรวมต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดอยู่ที่ 1.64 ล้านล้านบาท หรือ 14.5% ของจีดีพี โดยต้นทุนโลจิสติกส์ ภาคอุตสาหกรรมไทยอยู่ที่ 6% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสินค้าคงคลังจึงเตรียมแผนที่จะลดในอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนสูง ได้แก่ อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ปิโตรเคมี สิ่งทอ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมมีงบประมาณใช้ในการศึกษาช่วยปรับปรุง โลจิสติกส์ในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 130 ล้านบาท
                                                                                                                                                                               ที่มา : แนวหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น